เป้าหมายการเรียนรู้
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองแบบรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองแบบรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้
web การสอนคณิตศาสตร์ ทุกๆ เนื้อหาใน Quarter 2/2557 |
เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์ชั้น ม.3 แต่ละTopic ในQuarter 2/2557
Topic
|
เป้าหมายการสอนแต่ละ Topic
|
เหตุผล
|
กราฟและสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสาร
สื่อความหมาย
และนำเสนอโดยการเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองชุดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้น
และเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร รวมทั้งการอ่านและแปรความหมายกราฟได้
และสามารถแก้ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้กราฟ การแทนค่า และการกำจัดตัวแปรได้รวมทั้งสามารถให้เหตุผลในการอ่านและแปลความหมาย
กราฟของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรได้ และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ
กับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเพื่อแก้โจทย์ปัญหาในทางคณิตศาสตร์ได้
|
เป็นการทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ผ่านมาของนักเรียนเกี่ยวกับการสร้างกราฟเพื่อนำเสนอ
เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อมสู่เนื้อหาที่ท้าทายมากขึ้นในTopic ช่วงหลัง
สมการกำลังสองหรือพาลาโบลา
ฝึกการแก้ปัญหาของผู้เรียนในเนื้อหาที่สูงขึ้น
และฝึกการคิดวิเคราะห์โจทย์ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นๆ
|
ความคล้าย
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายสมบัติของการคล้ายกันของรูปสามเหลี่ยม
และให้เหตุผลที่ทำให้ รูปสามเหลี่ยมสองรูปคล้ายกันได้
แก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมคล้ายได้ และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมคล้ายไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
|
เป็นเนื้อหาเรขาคณิต
ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ประยุกต์ความรู้เดิมมาสร้างสรรค์ชิ้นงานตามความคิดสร้างสรรค์
และการคาดคะเนในรูปร่างที่คล้าย พร้อมฝึกการสื่อสารและให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
|
กรณฑ์ที่ 2
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับหารากที่สองและรากที่สามของจำนวนเต็มโดยการแยกตัวประกอบและนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้
และสามารถอธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการบวก การลบ และการคูณ การหาร
การยกกำลังและการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ
พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่าง ๆ ได้
|
การปูพื้นฐานสู่การสู่การเนื้อหาที่สูงขึ้น
เสริมความเข้าใจในเนื้อหาที่ซับซ้อน
และฝึกการแก้ปัญหาสถานการณ์ในหลากหลายรูปแบบ
|
การแยกตัวประกอบ
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามได้หลากหมายวิธีการ
และมีความรู้ความเข้าใจเชื่อมโยงกับสมบัติการแจกแจง
สามารถนำความรู้การแยกตัวประกอบไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
|
เป็นเนื้อหาที่เชื่อมโยงสู่สมการกำลังสอง
เป็นการปูพื้นฐานสู่เนื้อหาที่มีความซับซ้อนขึ้น
และฝึกการแยกตัวประกอบในวิธีการที่ยากขึ้นกว่าเนื้อหาเดิม ครูเพิ่มโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น
|
สมการกำลังสอง
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสมการของพหุนามตัวแปรเดียวที่มีดีกรีเท่ากับ
2 แล้วสมการกำลังสองใดๆ ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง (หรือจำนวนเชิงซ้อน)
จะมีรากของสมการ 2 คำตอบเสมอ ซึ่งอาจจะเท่ากันก็ได้
โดยที่รากของสมการสามารถเป็นได้ทั้งจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน
และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
|
เพื่อให้นักเรียนมองภาพของตัวเลขที่กว้างขึ้น
ให้เห็นความเชื่อมโยงจากระบบโครงสร้างจำนวน
มาสู่การมองภาพที่เชื่อมโยงกันมากขึ้นในรูปแบบสมการกำลังสอง
ให้นักเรียนได้ทำโจทย์ที่ท้าทาย
|
พาลาโบลา
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะต่างๆ
ของส่วนประกอบของรูปพาลาโบลาในรูปแบบที่หลากหลาย หงาย คล่ำ ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา
และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
|
เป็นการเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจจากสมการกำลังสอง
มาสู่ความสัมพันธ์ของการเรียนรู้เรื่องพาราโบลา
เป็นการฝึกการแก้ปัญหาในเนื้อหาเรขาคณิตกับพีชคณิต
เรียนรู้ควบคู่กัน ให้นักเรียนได้เจอโจทย์ที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น
|
ปฏิทินการเรียนรู้/มาตรฐานการเรียนรู้
สัปดาห์
|
เนื้อหา
|
คำถาม
|
กิจกรรมการเรียนรู้
|
ภาระงาน/ชิ้นงาน
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
|
|
1-3
|
- มองภาพ ในมิติต่างๆ
- การหาพื้นที่ 2 มิติ
- ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
และสามเหลี่ยมประเภทต่างๆ
|
- นักเรียนคิดว่า จุดและเส้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- นักเรียนสามารถหาพื้นที่
ของรูปต่างๆได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสามเหลี่ยมแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์
กันอย่างไร
- นักเรียนคิดว่า เราสามารถหาพื้นที่ของสามเหลี่ยมนี้ได้ออย่างไร
|
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ จุด เส้น
และระนาบ
- วิเคราะห์รูปภาพที่เกิดขึ้น ในมิติต่างๆ
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหา
-ทบทวนโจทย์ สามเหลี่ยม
-ทบทวนทฤษฎีปีทาโกรัส
|
ภาระงาน
- ร่วมแสดงความคิดเห็น และ นำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและคุณครูร่วมรับฟัง พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
-
แสดงวิธีคิด เกี่ยวกับการหาพื้นที่
2 มิติเพื่อการทบทวน
- แสดงวิธีคิดเกี่ยวกับการหาพื้นที่
สามเหลี่ยม ชนิดต่างๆ อาทิเช่น สามเหลี่ยม หน้าจั่ว สามเหลี่ยมด้านเท่า สามเหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้ ทฤษฎีปีทาโกรัสในการร่วมแก้ปัญหาและค้นหาคำตอบ
- เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในรูปแบบบรรยายประการวาดภาพ เพื่อถ่ายทอดความเข้าใจ ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
แสดงวิธีการคิดและการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการมองภาพ ในมิติต่างๆ การหาพื้นที่ 2 มิติ ทฤษฎีบทปีทาโกรัส และสามเหลี่ยมประเภทต่างๆ
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- รูปภาพเรขาคณิต 2 มิติ
- รูปภาพสามเหลี่ยมแต่ละประเภท
- ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
การหาพื้นที่ 2 มิติ
รูปเรขาคณิต และสามเหลี่ยมประเภทต่างๆ
|
|
4-5
|
- พื้นที่และปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
- พีระมิด ปริซึม ทรงกลม ทรงกระบอก ฐานสามเหลี่ยม สีเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ภาพคลี่
|
- จากปริซึมแต่ละประเภทนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง
|
- “เล่นเกม
สัมพันธ์กันฉันภาพ”
- วิเคราะห์เกี่ยวกับปริซึมประเภทต่างๆ
- ทดลองกิจกรรม “ตักน้ำใส่เหยือก”
-
วิเคราะห์ภาพคลี่ของปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหา และออกแบบโจทย์ประยุกต์
|
ภาระงาน
- “เล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”
-
ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริซึมประเภทต่างๆ
-
ร่วมทดลองพร้อมบันทึกผลในกิจกรรม “ตักน้ำใส่เหยือก”
-
วิเคราะห์ภาพคลี่ของปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
-
วิเคราะห์โจทย์ปัญหา และออกแบบโจทย์ประยุกต์
ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด
บันทึกผลการทดลองและกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ ปริมาตร และภาพคลี่ของรูปทรงต่างๆ
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
-
ปริซึมประเภทต่างๆ
- เกม
สัมพันธ์กันฉันภาพ”
- ภาพปริซึมประเภทต่างๆ
-
เหยือกน้ำรูปทรงกระบอก
- แก้วน้ำ
-
ปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- โจทย์ปัญหา
|
|
มาตรฐาน ค 2.1
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด : ตัวชี้วัด
ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, และ ม.3/4
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
6-8
|
ปริมาตรพื้นที่ และภาพคลี่ ของปริซึมทรงกรวยและทรงกลม
|
- นักเรียนคิดว่าหากคลี่
กรวยนี้ออก
รูปที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าหากมีไอศกรีมอยู่เต็มกรวยนี้
จะมีปริมาตรเท่าใด
-
นักเรียนคิดว่าหากเรานำทรงกลมมาตัดเป็นภาพคลี่จะมีลักษณะเป็นอย่างไร
|
- วิเคราะห์ภาพคลี่ของกรวยฐานวงกลม
พร้อมหาพื้นที่และปริมาตร
- ทดลอง “ 3 กรวย เป็น 1 กระบอก”
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหาพีระมิดแก้วฐานรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
- ทดลองตัดหาภาพคลี่
พื้นที่และปริมาตรของทรงกลม
-
ออกแบบวิธีการหาปริมาตร และพื้นที่ของรูปทรงต่างๆ
ที่คิดว่ามีความสัมพันธ์กันพร้อมแสดงวิธีคิด
|
ภาระงาน
-
วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพคลี่ของกรวยฐานวงกลม
พร้อมหาพื้นที่และปริมาตร
- ร่วมทำการทดลอง “ 3 กรวย เป็น 1 กระบอก”
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหาพีระมิดแก้วฐานรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
- ทดลองตัดหาภาพคลี่
พื้นที่และปริมาตรของทรงกลม
-
ออกแบบวิธีการหาปริมาตร และพื้นที่ของรูปทรงต่างๆ
ที่คิดว่ามีความสัมพันธ์กันพร้อมแสดงวิธีคิด
ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด
บันทึกผลการทดลองและกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ ปริมาตร และภาพคลี่ของรูปทรงต่างๆ
- ภาพรูปทรงเรขาคณิตที่สัมพันธ์กันของปริมาตรและพื้นที่
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- กรวยไอศกรีม
- กิจกรรม“ 3 กรวย เป็น 1 กระบอก”
- เรื่องเล่า “สิบเรื่องไม่นิยายของดวงจันทร์”
-
ทรงกลมกระดาษและกรรไกร
- กิจกรรม “ พิสูจน์การหาพื้นที่ และปริมาตรทรงกลม”
|
|
มาตรฐาน ค
2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด : ตัวชี้วัด ม.3/3, และ ม.3/4
มาตรฐาน ค
3.1 เข้าใจรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ : ตัวชี้วัด
ม.3/1
มาตรฐาน ค
6.1
มีความสามารถในการแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
9-10
|
แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร
ของรูปทรงเรขาคณิต สามมิติ
|
- นักเรียนคิดว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
ด้วยความสัมพันธ์จากภาพคลี่ต่างๆ
|
- วิเคราะห์โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์
ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร
ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- ออกแบบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
|
ภาระงาน
-
วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- ออกแบบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ(ทรงกระบอก
ทรงกรวยและทรงกลม) จากความสัมพันธ์ที่ได้จากภาพคลี่ ลงในกระดาษ A4
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
แสดงวิธีการคิดและการแก้โจทย์ปัญหา
- โจทย์ และวิธีคิด
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์
ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร
ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
|
|
มาตรฐาน ค 2.2
เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด : ตัวชี้วัด ม.3/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
11
|
- สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- กราฟ และคู่อันดับ
|
นักเรียนสามารถ หาคู่อันดับ
และเขียนกราฟ จากสมการ
10X +2 = Y ได้อย่างไร
|
- ทบทวนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- เขียนคู่อันดับจากสมการ
- เขียนกราฟ
- นำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟังเกี่ยวกับการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
กราฟ และคู่อันดับ
|
ภาระงาน
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- นำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟังเกี่ยวกับการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
กราฟ และคู่อันดับ
ชิ้นงาน
สมุดบันทึกเล่มเล็กเกี่ยวกับการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
กราฟ และคู่อันดับ
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- กราฟเส้น
|
|
มาตรฐาน ค
4.2
เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.3/1 และ ม.3/4
มาตรฐาน ค
6.1
มีความสามารถในการแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
12-13
|
- สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- ชุดตัวเลข
- คู่อันดับ
- จุดตัดเส้นกราฟ
|
- ผลบวกของจำนวน 2 จำนวนเท่ากับ 5 และผลต่างของสองจำนวนนี้เท่ากับ 3 นักเรียนคิดว่าจำนวนทั้งสองนี้คือ
- นักเรียนคิดว่า
สมการที่เกิดขึ้นจากโจทย์ประยุกต์ข้อนี้คืออะไรจำนวนใด
-
นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำคู่อันดับที่ได้ ไปเขียนกราฟได้อย่างไร
-
จากเส้นกราฟที่เกิดขึ้นนักเรียนสังเกตเห็นอะไร
|
- วิเคราะห์โจทย์
- ตีความหมายจากโจทย์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
-
แสดงวิธีคิดด้วยการหาคำตอบจากชุดตัวเลข
และคำตอบจากการจุดตัดที่เกิดขึ้นบนเส้นกราฟ
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
|
ภาระงาน
- แสดงวิธีคิดและตีความหมายจากโจทย์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
-
แสดงวิธีคิดด้วยการหาคำตอบจากชุดตัวเลข
และคำตอบจากการจุดตัดที่เกิดขึ้นบนเส้นกราฟ
ชิ้นงาน
-
สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- กราฟที่ได้จากสมการ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- กระดาษกราฟ
|
|
มาตรฐาน ค
4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)
ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน : ตัวชี้วัด ม.4-6/2
มาตรฐาน ค
4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ
และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical
model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, และ ม.3/5
มาตรฐาน ค
6.1
มีความสามารถในการแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
14-15
|
คุณสมบัติความคล้าย
|
- จากภาพที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไร
- พี่โอ๊ต สูง 1.6 เมตร ในขณะที่เงาของตึกหลังหนึ่งยาว 125 เมตร
เขาวัดความยาวของเงาของเขาที่ทอดไปตามพื้นได้ยาว 1.33 เมตร
จงหาความสูงของตึก
-
เราจะสามารถนำคุณสมบัติเกี่ยวกับความคล้ายมาประยุกต์ใช้เพื่อหาคำตอบกับโจทย์นี้ได้อย่างไร
|
- ดูภาพ รูปเหลี่ยมต่างๆ และวิเคราะห์คุณสมบัติ
- วิเคราะห์และวาดภาพจากโจทย์ประยุกต์
- แสดงวิธีคิดและหาคำตอบจากโจทย์ประยุกต์
โดยใช้คุณสมบัติความคล้าย
- ออกแบบโจทย์โจทย์
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์ภาพที่ได้จากการสังเกต เพื่อเข้าใจคุณสมบัติความคล้ายของรูปเหลี่ยมต่างๆ
- วิเคราะห์และวาดภาพจากโจทย์ประยุกต์
- แสดงวิธีคิดและหาคำตอบจากโจทย์ประยุกต์
โดยใช้คุณสมบัติความคล้าย
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงภาพวาดและวิธีคิดหาคำตอบจากโจทย์ประยุกต์
- โจทย์ประยุกต์ที่ต้องนำนำคุณสมบัติความคล้ายมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหา
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์คุณสมบัติความคล้าย
- ภาพรูปเหลี่ยมคล้าย
|
|
มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ
(spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต
(geometric model) ในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด
ม.3/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
16
|
รากที่สอง
|
-
นักเรียนคิดว่าความรู้ด้าน รากที่ 2
มีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านใด
- จากชุดตัวเลขและคำตอบที่เกิดขึ้น
นักเรียนสังเกตเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง
-
นักเรียนคิดว่าเราจะนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของ 484 ได้อย่างไร
|
- หาคำตอบจากชุดตัวเลข
12- 92
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของชุดตัวเลขเพื่อหาค่ารากที่สอง
- อภิปรายและนำเสนอ
-สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
|
ภาระงาน
วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของจำนวนเต็มบวกและเต็มลบใดๆ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับการนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง
12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของจำนวนเต็มบวกและเต็มลบใดๆ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาค่ารากที่
2
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์รากที่สอง
- ชุดตัวเลข
|
|
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด
ม.2/1, ม.2/2 และม.4-6/1
มาตรฐาน ค 1.3
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด
ม.2/1 และม.4-6/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
: ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
17-19
|
-
การแยกตัวประกอบพหุนาม
|
- นักเรียนคิดว่า
ตัวเลขใดบ้างที่นำมาดำเนินการโดยการ บวก ลบ คูณและหาร มีค่าเท่ากับ 144
- นักเรียนคิดว่า
ตัวประกอบของ 144 มีอะไรบ้าง
นักเรียนคิดว่า
จากสมการต่อไปนี้
1.a(b+c) = ab+ac
2. (5 + 2)+1=5+(2 + 1 = 8
3. a + b = b + a
เป็นการใช้สมบัติใดในการดำเนินการ
- นักเรียนคิดว่า
โจทย์คณิตศาสตร์ ต่อไปนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
1.
5x+
y
2. 5x2z-3y+5yz-3x2
|
- วิเคราะห์การแยกตัวประกอบของ 144
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์
อาทิเช่น สมบัติการเปลี่ยนหมู่
สมบัติการสลับที่ และ
สมบัติการแจกแจง
มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีต่างๆ
- ออกแบบโจทย์
-
อภิปรายและนำเสนอ
-สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์การแยกตัวประกอบของ 144
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์
อาทิเช่น สมบัติการเปลี่ยนหมู่
สมบัติการสลับที่ และ
สมบัติการแจกแจง
มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีต่างๆ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์พหุนามดีกรี
1 และ 2
|
|
มาตรฐาน ค 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ
กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical
model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา
: ตัวชี้วัด ม.3/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||
20-21
|
- สมการกำลัง
2
-กราฟพาราโบลา
- สรุปการเรียนรู้ภาคเรียนที่
1
|
-คุณครูมีที่ดินสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองแปลง
แปลงแรกมีเนื้อที่ 104 ตารางเมตร และมีด้านยาวยาวกว่าด้านกว้าง 5 เมตร ที่ ดินแปลงที่สองมีด้านยาวยาวกว่าด้านยาวของที่ดินแปลงแรก
2 เมตร และด้านสั้นกว่าด้านกว้างของที่ดินแปลงแรก 1 เมตร
ที่ดินแปลงที่สองมีพื้นที่เท่าใด
-
เราจะหาจุดสูงสุดของลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร
|
- วิเคราะห์การนำความรู้ด้านสมการกำลังสองมาปรับใช้เพื่อค้นหาวิธีการวัดความสูงของลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากกราฟที่เกิดขึ้นของสมการ
- กราฟที่ได้จากสมการ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับกราฟพาราโบลา
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านสมการกำลังสองมาปรับใช้เพื่อค้นหาวิธีการวัดความสูงของลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากกราฟที่เกิดขึ้นของสมการ
- กราฟที่ได้จากสมการ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับกราฟพาราโบลา
ชิ้นงาน
-
สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟพาราโบลาที่เกิดจากสมการกำลังสอง
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับกราฟพาราโบลา
- สรุปองค์ความรู้ภาคเรียนที่
1
|
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- รูปกราฟพาราโบลา
- โจทย์ความสูงของลูกฟุตบอล
- กระดาษกราฟ
|
|
มาตรฐาน ค 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ
กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical
model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา
: ตัวชี้วัด ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4 และ ม.3/5
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|