เป้าหมาย

ปีการศึกษา 2557 Topic : Fun with math
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

w19-21 : สมการกำลังสอง,พาราโบลา

Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับสมการกำลังสองที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในTopic นี้

-สมการกำลังสอง

- กราฟพาราโบลา


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนามมาปรับใช้แก้โจทย์ปัญหาสมการกำลังสองและนำความรู้ที่ได้มาแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบกราฟพาราโบลาเพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ในวิถีโค้งของสิ่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

แผนการจัดการเรียนรู้
Week
input
Process
Output
Outcome




20 - 21

22-3
ก.ย.
2557
โจทย์
- สมการกำลัง 2
-กราฟพาราโบลา
- สรุปการเรียนรู้ภาคเรียนที่ 1

Key  Questions
 -คุณครูมีที่ดินสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองแปลง แปลงแรกมีเนื้อที่ 104 ตารางเมตร และมีด้านยาวยาวกว่าด้านกว้าง 5 เมตร ที่ ดินแปลงที่สองมีด้านยาวยาวกว่าด้านยาวของที่ดินแปลงแรก 2 เมตร และด้านสั้นกว่าด้านกว้างของที่ดินแปลงแรก 1 เมตร ที่ดินแปลงที่สองมีพื้นที่เท่าใด
- เราจะหาจุดสูงสุดของลูก   ฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดความสูงของลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะกราฟที่เกิดขึ้นบ่งบอกเกี่ยวกับอะไร อาทิเช่น  ความสูง ลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกฟุตบอล

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- รูปกราฟพาราโบลา
- โจทย์ความสูงของลูกฟุตบอล
- กระดาษกราฟ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้วและทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การแยกตัวประกอบพหุนามในดีกรีต่างๆ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด คุณครูมีที่ดินสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองแปลง แปลงแรกมีเนื้อที่ 104 ตารางเมตร และมีด้านยาวยาวกว่าด้านกว้าง 5 เมตร ที่ ดินแปลงที่สองมีด้านยาวยาวกว่าด้านยาวของที่ดินแปลงแรก 2 เมตร และด้านสั้นกว่าด้านกว้างของที่ดินแปลงแรก 1 เมตร ที่ดินแปลงที่สองมีพื้นที่เท่าใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ และวาดภาพตามความเข้าใจของตนเอง
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อวิเคราะห์หาคำตอบ
- ครูจัดระบบข้อมูลจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ เพื่อทบทวนความเข้าใจ
ชง : ครูกำหนดโจทย์ประยุกต์ให้นักเรียนได้ร่วมแสดงวิธีคิดและอภิปรายร่วมกัน ตัวอย่างโจทย์ดังนี้
       1.       รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปใหญ่รูปหนึ่งมีพื้นที่  441 ตารางเซนติเมตร จงหาว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปเล็กที่มีความยาวของด้านน้อยกว่ารูปใหญ่ด้านละ 3 เซนติเมตร จะมีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร
           2.       จักรยานยนต์คันหนึ่งวงล้อหน้ามีเส้นรอบวงสั้นกว่าวงล้อหลัง 5 ฟุต เมื่อวิ่งในระยะทาง 250 หลา ล้อหลังจะหมุนน้อยรอบกว่าล้อหน้าเป็นจำนวน 12.5 รอบ เส้นรอบวงของล้อหลังจะยาวเท่าใด
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม พร้อมออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
ชง : ครูให้นักเรียนดูภาพ



- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า เส้นกราฟที่เกิดขึ้น น่าจะมาจากข้อมูลที่เป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูยกตัวอย่างการเคลื่อนที่ของลูกฟุตบอกที่มีวิถีโค้ง (กราฟพาราโบลา)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น เราจะหาจุดสูงสุดของลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูกำหนดการเคลื่อนที่ของลูกฟุตบอลในรูปแบบ สมการ y = (x-2)2
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น คู่อันดับที่เกิดขึ้น มีค่าเท่ากับเท่าไร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิดของตนเอง
- ครูแจกกระดาษกราฟให้นักเรียนแต่ละคน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนคิดว่าเส้นกราฟที่เกิดขึ้นมีลักษณะอย่างไร
        1.       เป็นพาราโบลาคว่ำ หรือหงาย (ลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกฟุตบอล)
         2.       มีจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดเท่ากับเท่าไร (ความสูงของลูกฟุตบอล)
       3.       แกนสมมาตราของกราฟคือแกนใด (ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่กับความสูงของลูกฟุตบอล)
ชง : ครูยกตัวอย่าง โจทย์ ต่อไปนี้ ให้นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิด เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟพาราโบลา และความสัมพันธ์ที่เกิดกับสมการกำลังสอง อาทิเช่น
         1.       Y=-2(x+1)2
         2.       Y =(x-2)2+3
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับ กราฟพาราโบลา และความสัมพันธ์ที่เกิดกับสมการกำลังสอง พร้อมออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดภาคเรียนที่ 1
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้ภาคเรียนที่ 1 ลงในกระดาษ A3
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านสมการกำลังสองมาปรับใช้เพื่อค้นหาวิธีการวัดความสูงของลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
ชิ้นงาน
 - สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากกราฟที่เกิดขึ้นของสมการ
- กราฟที่ได้จากสมการ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับกราฟพาราโบลา

ชิ้นงาน
 - สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟพาราโบลาที่เกิดจากสมการกำลังสอง
 - โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับกราฟพาราโบลา
- สรุปองค์ความรู้ภาคเรียนที่ 1
ความรู้
- การนำความรู้เรื่องสมการกำลังสอง มาปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- การหาความสูงและความสัมพันธ์ต่างๆของการเคลื่อนที่ของลูกบอลในอากาศ รวมถึงการแปรความหมายจากกราฟ พาราโบลา เป็นความเข้าใจที่แท้จริง

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์และแปรความหมายจากกราฟ พาราโบลา เป็นความเข้าใจที่แท้จริง เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆในวิถีโค้งได้ (Projectile)
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ของที่มา ในตัวแปรต่างๆได้อย่างมีเหตุผล
 ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรกับการเขียนกราฟ โดยคู่อันดับได้
ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
- มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่อันดับและเส้นกราฟที่เกิดขึ้น
 ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรกับการเขียนกราฟ โดยคู่อันดับได้

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายในกิจกรมการเรียนรู้ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นการทบทวนและเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับ พหุนามดีกรีสอง แต่เพิ่มเติมในเรื่องของการเกิดขึ้นของกราฟ จากสมการพหุนามดีกรีสองง ในชื่อของพาราโบลานั้นเอง ซึ่งคุณครูได้ร่วมทบทวนความรู้เกี่ยวกับกราฟที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้ว เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นในเรื่องนี้ อีกทั้งสะดวกในการสังเกตและวิเคราะห์ลักษณะกราฟพาราโบลาในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น พาราโบลาคว่ำ พาราโบลาหงาย อันเนื่องมาจาค่าข้อมูลจากพหุนามดีกรีสอง ทั้งที่เป็นบวกและเป็นลบ ซึ่งจะมีการเรียนเพิ่มเติมในภาคเรียนที่ 2 หลังจากนั้นก็ได้สรุปการเรียนรู้ร่วมกันและจัดทำในรูปแบบ Mind Mapping เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในภาคเรียนที่ 1

    ตอบลบ