เป้าหมาย

ปีการศึกษา 2557 Topic : Fun with math
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

w12-13: กราฟและสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับกราฟและสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในTopic นี้

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอโดยการเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองชุดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้น และเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร รวมทั้งการอ่านและแปรความหมายกราฟได้ และสามารถแก้ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้กราฟ การแทนค่า และการกำจัดตัวแปรได้รวมทั้งสามารถให้เหตุผลในการอ่านและแปลความหมาย กราฟของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรได้ และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเพื่อแก้โจทย์ปัญหาในทางคณิตศาสตร์ได้

แผนจัดการเรียนรู้
Week
input
Process
Output
Outcome





12-13

4-15
ส.ค.
2557
โจทย์
- สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- ชุดตัวเลข
- คู่อันดับ
- จุดตัดเส้นกราฟ
Key  Questions
  - ผลบวกของจำนวน 2 จำนวนเท่ากับ 5 และผลต่างของสองจำนวนนี้เท่ากับ 3 นักเรียนคิดว่าจำนวนทั้งสองนี้คือ
- นักเรียนคิดว่า สมการที่เกิดขึ้นจากโจทย์ประยุกต์ข้อนี้คืออะไรจำนวนใด
- นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำคู่อันดับที่ได้ ไปเขียนกราฟได้อย่างไร
- จากเส้นกราฟที่เกิดขึ้นนักเรียนสังเกตเห็นอะไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับวิธีการคำตอบของสมการ  และการตีความหมายของโจทย์ประยุกต์ต่างๆ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- กระดาษกราฟ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้ว
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ผลบวกของจำนวน 2 จำนวนเท่ากับ 5 และผลต่างของสองจำนวนนี้เท่ากับ 3 นักเรียนคิดว่าจำนวนทั้งสองนี้คือ
จำนวนใด ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมหาคำตอบและแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า สมการที่เกิดขึ้นจากโจทย์ประยุกต์ข้อนี้คืออะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสมการที่เกิดขึ้น
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน พร้อมจัดระบบข้อมูลที่เกิดขึ้น (คำตอบที่ได้เป็นชุดตัวเลขเดียวกัน)
- นักเรียนแต่ละคนร่วมหาคำตอบและแสดงวิธีคิดในโจทย์ประยุกต์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ อาทิเช่น
         1. ผลบวกของจำนวนสองจำนวนมีค่าเท่ากับ 10 ขณะที่ผลต่างของสองจำนวนนี้เท่ากับ 4 จงหาจำนวนทั้งสอง
         2. ผลคูณของจำนวนสองจำนวนมีค่าเท่ากับ 30 ขณะที่ผลบวกของสองจำนวนนี้เท่ากับ 11 จงหาจำนวนทั้งสอง
         3. ผลหารของจำนวนสองจำนวนมีค่าเท่ากับ 13 ขณะที่ผลบวกของสองจำนวนนี้เท่ากับ 60 จงหาจำนวนทั้งสอง
          4. มะลิซื้อส้มโอผลเล็กราคาผลละ 30 บาท และผลใหญ่ราคาผลละ 35 บาท คิดเป็นเงิน 950 บาท เมื่อนำมารวมกันแล้วขายไปผลละ 40 บาท ได้เงิน 1,200 บาท จงหาว่ามะลิซื้อส้มโอแต่ละขนาดมาอย่างละกี่ผล
         5. ชายคนหนึ่งพายเรือทวนน้ำระยะทาง 15 กิโลเมตร ในเวลา 45 นาที แต่ถ้าพายเรือตามน้ำในระยะทาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 15 นาที จงหาอัตราเร็วในการพายเรือในน้ำนิ่งของชายคนนี้และอัตราเร็วของกระแสน้ำ (หน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคน ร่วมนำเสนอความคิดเห็นและบันทึกสิ่งที่ได้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าสมการที่ได้จากโจทย์ข้อที่ 1 เราสามารถหาคำตอบในรูปแบบอื่นๆอีกได้อย่างไร?” (x+y =10, x-y=4)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนการเขียนคู่อันดับจากสมการ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและหาคำตอบ เพื่อเขียนลงในตารางคู่อันดับ)
ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำคู่อันดับที่ได้ ไปเขียนกราฟได้อย่างไร?’
เชื่อม : ครูแจกกระดาษกราฟให้นักเรียนแต่ละคน
 - นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและเขียน คู่อันดับที่ได้จากสมการทั้งสอง ลงในแกนกราฟ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากเส้นกราฟที่เกิดขึ้นนักเรียนสังเกตเห็นอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เกิดจุดตัด และจุดตัดนั้นคือคำตอบของสมการทั้งสอง
- ครูและนักเรียนร่วมจัดระบบข้อมูลเพื่อทบทวนความเข้าใจ
- นักเรียนแต่ละคนนำโจทย์เดิม (5 ข้อ) ที่เคยหาคำตอบด้วยวิธีการแรก (หาชุดตัวเลขที่เหมือนกัน) มาปรับใช้วิธีการหาคำตอบของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรด้วยการ หาคู่อันดับ และเขียนกราฟเพื่อหาจุดตัดเส้นกราฟ พร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคน เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นสองตัวแปร พร้อมนักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
ภาระงาน
- แสดงวิธีคิดและตีความหมายจากโจทย์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- แสดงวิธีคิดด้วยการหาคำตอบจากชุดตัวเลข และคำตอบจากการจุดตัดที่เกิดขึ้นบนเส้นกราฟ
ชิ้นงาน
 - สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- กราฟที่ได้จากสมการ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
ความรู้
กระบวนการวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร และวิธีการหาคำตอบของสมการ ด้วยวิธีที่หลากหลาย อาทิเช่น การหาชุดตัวเลข หรือ การหาคำตอบจากจุดตัดบนเส้นกราฟ
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์คำตอบ จากการแก้สมการเชิงเส้นสองตัวแปรเกี่ยว ด้วยวิธีคิดทีหลากหลายอาทิเช่น การหาชุดตัวเลข หรือ การหาคำตอบจากจุดตัดบนเส้นกราฟ
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ของที่มา ในตัวแปรต่างๆได้อย่างมีเหตุผล
 ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรกับการเขียนกราฟ โดยคู่อันดับได้
ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
- มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่อันดับและเส้นกราฟที่เกิดขึ้น
 ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรกับการเขียนกราฟ โดยคู่อันดับได้

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน










Power point











ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้คุณครูได้ให้พี่ๆ ม.3 ได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นสองตัวแปรค่ะ ซึ่งพี่ๆและคุณครูได้เริ่มทบทวนไปเมื่อปลาย Quarter 1 ที่ผ่านมา และ ใน Quarter 2 นี้ พวกพี่ๆจึงได้เริ่มเรียนกันอีกครั้ง โดยเนื้อหาและความเข้าใจซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจามีตัวแปรของสมการเพิ่ม มากาขึ้น ปัญหาของพี่ๆ ม. 3 เกี่ยวกับเรื่องของสมการ คือ วิเคราะห์โจทย์ยังไม่ค่อยเข้าใจ และยังไม่เข้าใจวิธีที่ได้มาซึ่งคำตอบของตัวแปร โดยส่วนใหญ่สามารถแก้ได้โดยการย้ายข้างสมการเท่านั้น และเป็นการเรียนรู้แบบท่องจำ ไม่ได้เข้าใจโดยแท้จริง จึงทำให้เราได้เริ่มต้นเรียนเรื่องสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์โจทย์ออกมาเป็นสมการ และ ร่วมกันวิเคราะห์หาวิธีการที่จะได้มาซึ่งคำตอบ ที่มีมากกว่า 1 วิธี คุณครูเริ่มยกตัวอย่างโจทย์ที่เข้าใจได้ง่ายมาให้พี่ๆ ม.3 ได้เริ่มเรียนรู้ อาทิเช่น “ผลบวกของจำนวน 2 จำนวนเท่ากับ 5 และผลต่างของสองจำนวนนี้เท่ากับ 3 นักเรียนคิดว่าจำนวนทั้งสองนี้คือจำนวนใด?” หลังจากที่เราได้ร่วมกันเรียนรู้ และจัดระบบข้อมูลไปด้วย พบว่า วิธีการหาคำตอบของโจทย์นี้ มี 3 คำตอบคือ อย่างแรก พี่โอมเสนอว่า เป็นการย้ายข้างแก้สมการแบบธรรมดา เนื่องจากสมการที่ได้ มี 2 สมการ คือ X+Y=5 และ X-Y=3 “เราก็แค่กำหนดค่า x หรือ y เราก็จะได้คำตอบครับ” พี่ๆ ส่วนใหญ่ของห้อง คิดเป็นชุดตัวเลขที่ บวกกัน แล้ว ได้เท่ากับ 5 และเลขนั้นลบกันแล้วได้เท่ากับ 3 ซึ่งก็คือ X=4 และ Y=1 ค่ะ” และอีกหนึ่งวิธีเป็นวิธีที่เกิดขึ้นจากการนำเอาคู้อันดับที่ได้จากการหารค่าของพี่โอม ในรูปแบบตาราง ทั้งสองสมการมาเขียนเป็นกราฟ และเกิดจุดตัด และจุดตัดนั้นแสดงคำตอบที่ตรงกับค่าที่เพื่อนหาได้จากการหาเป็นชุดตัวเลข โดยๆ พี่ๆและคุณครูร่วมกันสรุปว่า จุดตัดนั้นก็คือคำตอบของสมการเช่นกันค่ะ หลังจากนั้น คุณครูก็ได้ให้พี่ๆ ทำความเข้าใจโจทย์ที่ตนเองสนใจ และนำมาแชร์กันเพื่อทบทวนความเข้าใจ พร้อมทั้งได้ให้พี่แต่ละคนออกแบบโจทย์ใหม่ และสรุปกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็กอีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ