เป้าหมาย

ปีการศึกษา 2557 Topic : Fun with math
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

w15-16 : ความคล้าย

Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับความคล้ายที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในTopic นี้

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายสมบัติของการคล้ายกันของรูปสามเหลี่ยม และให้เหตุผลที่ทำให้ รูปสามเหลี่ยมสองรูปคล้ายกันได้ แก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมคล้ายได้ และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมคล้ายไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

แผนการจัดการเรียนรู้


Week
input
Process
Output
Outcome





14-15

18-29
ส.ค.
2557
โจทย์
คุณสมบัติความคล้าย

Key  Questions
 - จากภาพที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไร
- พี่โอ๊ต สูง 1.6 เมตร ในขณะที่เงาของตึกหลังหนึ่งยาว 125 เมตร เขาวัดความยาวของเงาของเขาที่ทอดไปตามพื้นได้ยาว 1.33 เมตร จงหาความสูงของตึก
- เราจะสามารถนำคุณสมบัติเกี่ยวกับความคล้ายมาประยุกต์ใช้เพื่อหาคำตอบกับโจทย์นี้ได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหาคำตอบจากโจทย์ประยุกต์ โดยใช้คุณสมบัติความคล้าย

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์คุณสมบัติความคล้าย
 - ภาพรูปเหลี่ยมคล้าย
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้ว
ชง :  ครูนำภาพ ดังรูป ให้นักเรียนร่วมสังเกต
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากภาพที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากรูปสามเหลี่ยมสองรูปนี้ นักเรียนคิดว่ามีคุณสมบัติความคล้ายกันหรือไม่เพราะเหตุใด


 เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายเกี่ยวกับ คุณสมบัติความคล้ายของรูปสามเหลี่ยมข้างต้น(เกี่ยวกับมุมภายใน  มุมแย้ง เส้นขนาน และอัตราส่วนต่างๆของสามเหลี่ยมคล้าย)

 ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น พี่โอ๊ต สูง 1.6 เมตร ในขณะที่เงาของตึกหลังหนึ่งยาว 125 เมตร เขาวัดความยาวของเงาของเขาที่ทอดไปตามพื้นได้ยาว 1.33 เมตร จงหาความสูงของตึก?”
-  ครูใช้คำถามกระตุ้นจากข้อความที่ครูอ่านนักเรียนสามารถวาดออกมาในรูปแบบของภาพได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและวาดภาพร่วมกัน ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถหาความสูงของตึกนี้ได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด เราจะสามารถนำคุณสมบัติเกี่ยวกับความคล้ายมาประยุกต์ใช้เพื่อหาคำตอบกับโจทย์นี้ได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อและครูได้ร่วมรับฟัง
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการเรียนเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพื่อทบทวนความเข้าใจ
ใช้ : ครูกำหนดโจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการนำคุณสมบัติความคล้ายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ให้นักเรียนได้ร่วมแสดงวิธีคิดและแสดงความคิดเห็น  อาทิเช่น     พี่ฟ้าต้องการทราบความสูงของตึกหลังหนึ่งจึงสร้างอุปกรณ์ช่วยสำรวจหาข้อมูลโดยตัดกระดาเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากและใช้กระดาษนี้เล็งหาจุดยอดของตึก  จากการสำรวจพบว่า ความสูงจากเท้าถึงตาของพี่ฟ้า วัดได้ 1.5 เมตร จุดที่ยืนเล็งดูยอดตึกห่างจากตึก 20 เมตร จงหาว่าตึกสูงกี่เมตร ?
 - นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคน เกี่ยวกับการนำคุณสมบัติความคล้ายมาปรับใช้แก้โจทย์ปัญหา พร้อมทั้งนักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
ภาระงาน
-  วิเคราะห์ภาพที่ได้จากการสังเกต เพื่อเข้าใจคุณสมบัติความคล้ายของรูปเหลี่ยมต่างๆ
- วิเคราะห์และวาดภาพจากโจทย์ประยุกต์
- แสดงวิธีคิดและหาคำตอบจากโจทย์ประยุกต์ โดยใช้คุณสมบัติความคล้าย


ชิ้นงาน
 - สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงภาพวาดและวิธีคิดหาคำตอบจากโจทย์ประยุกต์
- โจทย์ประยุกต์ที่ต้องนำนำคุณสมบัติความคล้ายมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหา
ความรู้
การนำคุณสมบัติความคล้ายมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
อาทิเช่น การหาระยะทางของสิ่งต่างๆที่เราไม่สามารถวัดได้โดยตรง เช่น ความสูงของตึก ความกว้างของปากแม่น้ำ ฯลฯ

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์คำตอบโจทย์ประยุกต์ โดยใช้คุณสมบัติความคล้าย
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ของรูปภาพที่สังเกตได้
 ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์ต่างๆที่เกี่ยวกับการวัดระยะทางโดยใช้คุณสมบัติความคล้ายได้
 ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
- มองเห็นความสัมพันธ์และอัตราส่วนของรูปภาพและมุมที่ประกอบกันเป็นรูปเหลี่ยมต่างๆได้
 ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเกี่ยวกับ ความคล้ายมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การวัดระยะทางต่างๆ

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน









 

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้



- ทบทวนเกี่ยวกับเรื่อง "มุมต่างๆ"



-ตัวอย่างการวิเคราห์โจทย์ ปละการนำความรู้เกี่ยวกับ ความคล้ายไปใช้ประโยชนฺ์



- ตัวอย่างใบงาน


- ตัวอย่างสรุปความเข้าใจ เรื่อง "ความคล้าย"




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้พี่ ม.3 เริ่มต้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องความคล้าย โดย คุณครูได้นำภาพสามเหลี่ยมมุมฉาก รูปหกเหลี่ยมและรูปลูกศร โดยแต่ละรูปมีขนาดของรูปที่แตกต่างกันสามขนาด ซึ่งคุณครูได้ใช้คำถามกับพี่ม.3 เอาทิเช่นพี่ๆคิดว่ารูปสามเหลี่ยมทั้งสามรูปนี้มีความสัมพันธ์ เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร? เสียงตอบจากพี่ๆส่วนใหญ่ของห้องคือ"ขนาดต่างกัน" จากนั้นคุณครูได้ขออาสาสมัคร1คน ใช้ไม้บรรทัดวัดความยาวของด้านแต่ละด้านของรูสามเหลี่ยม พร้อมกับบอกค่าของมุมซึ่งในที่นี้เป็นมุมฉาก(90 องศา) จากที่พี่กั๊กได้วัดค่าความยาวต่างๆเรียนร้อยแล้ว ตัวเลขี่ได้คือรูปสามเหลี่ยมที่ใหญ่ที่สุด วัดด้านประกอมุมฉากได้เป็น 30 cm. 20 cm. และ10cm. ตามขนาของสามเหลี่ยมที่เล็กลงเลื่อยๆ จากนั้นคุณครูใช้คำถามต่อไปอีกว่าจากค่าที่วัดได้พี่คิดว่าสามเหลี่ยมทั้งสามรูปนี้มีความสัมพันกันอย่างไร? และถ้าจะวาดภาพที่ 4 5 6...n. จะวาดได้อย่างไร? พี่ๆ ทุกคนจะเห็นว่ามันมีอัตราส่วนของกันและกัน พร้อมทั้งสามารถเขียนภาพต่อๆไปได้
    หลังจากนั้นคุณครูและพี่ๆได้ร่วมกันทำความเข้าใจและความสัมพันธ์ของคุณสมบัติของรูปต่างๆที่จะจัดอยู่ในหมวดหมู่ของความคล้ายได้ ฟังจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ รูปเรขาคณิตต่างๆที่จะเข้าข่าย ที่จะมีคุณสมบัติ"ความคล้ายได้ " โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับการบอกคุณสมบัติความคล้ายได้ดีคือรูปสามเหลี่ยมค่ะเพราะสามารถมองได้ถึงเรื่องของมุม และภาพเดิมที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยคุณครูได้ใช้วิธีการวาดภาพของรูสามเหลี่ยม สี่รูป ในสองรูปแรกมีลักษณะเหมือนกันทุกประการเพียงแต่แตกต่างกันที่ขนาดของรู และไม่มีตัวเลขใดๆกำกับ และสองรูปหลัง เป็นเช่นเดียวกันกับสองรูปแรกแต่มีค่าของมุมมากำกับ พร้อทั้งบอกความยาวของ ด้านประกอบมุมต่าๆ ซึ่ง จากภาพที่วาด เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติความคล้ายของรูปเราขาคณิตโดยใช้ไคำถามกับพี่ๆต่อไปอีกว่า "คิดว่า รูปคู่ไหน มีคุณสมบัติ ความคล้ายที่สุด และเพราะเหตุใด? พี่บีม(อ) "หนูคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับมุมด้วยค่ะครู" พี่โอม"ครับครู ผมคิดว่า รูปอาจจะใหญ่ขึ้น แต่ว่ามุมก็ยังเป็นค่าเดิม อยู่ครับ" เพื่อนในห้องดูเหมือนจะเห็นด้วยกับสิ่งที่ทั้งสองคนเสนอความคิด หลังจากนั้นเราก็ได้ จัดระบบข้อมมูลรวมกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้
    ในกิจกรรมต่อมา คุณครูได้ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องมุมต่างๆกับพี่ ม.3 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เคยได้เรียนมาแล้วเมื่อครั้งที่เรียนอยู่ ม.2 อย่างเช่น มุมร่วม มุมแย้ง มุมตรงกันข้าม เนื่องจากเรื่องมุมนี้จะช้เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคระห์โจทย์ประยุกต์และสถานการณ์ต่างๆ ที่นำคุณสมบัติเรื่องความคล้ายไปปรับประยุกต์ใช้ จากนั้นคุณครูได้ทดลองให้พี่ๆม.3 ทำใบงานที่เป็น รูปภาพ สามเหลี่ยมรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์(สมนัย) ที่เกิดขึ้น ตามด้วยการทำโจทย์ประยุกต์ อาทิเช่น การหาความสูงของตึกโดยทราค่าเงาของตนเอง หรือการหาความกว้างและความลึกของปากเหว
    เนื่องจาก การเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติความคล้าย สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิต อาทิเช่นการหาระยะทางที่เราไม่สามารถวัดได้จริง เช่นความสูงของตึกความลึกของเหว ความสูงของน้ำตกแต่สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาจะสามารถหาค่าได้จะต้องมีสิ่งหนึ่งประกอบการอ้างอิง อาทิเช่น ความสูงของเงาคน. เงาต้นไม้ ฯลฯ
    และปิดท้ายกิจกรรมนี้โดยคุณครูได้ให้พี่ได้สรุปความเข้าใจของตนเองลงในกระดาษ a4 และทบทวนกันอีกครั้งค่ะ


    ตอบลบ