เป้าหมาย

ปีการศึกษา 2557 Topic : Fun with math
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

w17-18 : การแยกตัวประกอบ

Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในTopic นี้

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามได้หลากหมายวิธีการ และมีความรู้ความเข้าใจเชื่อมโยงกับสมบัติการแจกแจง สามารถนำความรู้การแยกตัวประกอบไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

แผนการจัดการเรียนรู้
Week
input
Process
Output
Outcome



17-19

8-19
ก.ย.
2557
โจทย์
- การแยกตัวประกอบพหุนาม

Key  Questions
- นักเรียนคิดว่า ตัวเลขใดบ้างที่นำมาดำเนินการโดยการ บวก ลบ คูณและหาร มีค่าเท่ากับ 144
- นักเรียนคิดว่า ตัวประกอบของ 144 มีอะไรบ้าง
นักเรียนคิดว่า จากสมการต่อไปนี้   
1.a(b+c) = ab+ac 
 2. (5 + 2)+1=5+(2 + 1 = 8
3. a + b   =   b + a
เป็นการใช้สมบัติใดในการดำเนินการ
- นักเรียนคิดว่า โจทย์คณิตศาสตร์ ต่อไปนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?” 
            1.       5x+ y
             2.       5x2z-3y+5yz-3x2

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำสมบัติด้านการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์ อาทิเช่น สมบัติการเปลี่ยนหมู่  สมบัติการสลับที่  และ สมบัติการแจกแจง  มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีต่างๆ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์พหุนามดีกรี 1 และ 2
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้วและทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ รากที่ 2 ของจำนวนต่างๆ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ตัวเลขใดบ้างที่นำมาดำเนินการโดยการ บวก ลบ คูณและหาร มีค่าเท่ากับ 144 ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิดของตนเอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตัวประกอบของจำนวนต่างๆคืออะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ตัวประกอบของ 144 มีอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเอง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของตัวเลขจำนวนต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การแยกตัวประกอบของจำนวนอาทิเช่น   การแยกด้วยวิธีการหารสั้น  หรือ  การแยกด้วยวิธีการเขียนแผนภูมิต้นไม้
ใช้ : ครูกำหนด ตัวเลข จำนวน 10 จำนวนให้นักเรียนได้ลงองแยกตัวประกอบเพื่อทบทวนความเข้าใจพร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสมบัติด้านการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์ อาทิเช่น สมบัติการเปลี่ยนหมู่  สมบัติการสลับที่  และ สมบัติการแจกแจง  
ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า จากสมการต่อไปนี้  
                        1.a(b+c) = ab+ac 
                        2. (5 + 2) + 1 = 5 + (2 + 1) = 8
                        3. a + b   =   b + a
เป็นการใช้สมบัติใดในการดำเนินการ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติการดำเนินการต่างทางคณิตศาสตร์เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
ชง : ครูยกตัวอย่าง โจทย์ ต่อไปนี้ ให้นักเรียนได้ร่วมนำความรู้เกี่ยวกับสมบัติด้านการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความเข้าใจ  (พหุนาม )อาทิเช่น
                  1.       10x+4
                  2.       14y+26z
                  3.       15x2y+5x
                  4.       9y2z2- 6yz
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม พร้อมออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า โจทย์คณิตศาสตร์ ต่อไปนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?” 
                 1.       5x+ y
                  2.       5x2z-3y+5yz-3x2
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีหนึ่ง(พหุนามที่มีเลขยกกำลังเป็น 1 เช่น  5x+ y )
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถแยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีมากกว่า 1 ได้อย่างไร  (ครูยกตัวอย่างโจทย์
5x2z-3y+5yz-3x2 )?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ชง : ครูยกตัวอย่าง โจทย์ ต่อไปนี้ ให้นักเรียนได้ร่วมนำความรู้เกี่ยวกับสมบัติด้านการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีเป็น 1 และมากกว่า 1  อาทิเช่น
                        1.       na+3b+nb+3a
                        2.       xy-st-xt+sy
                       3.       ab2-cb2- 6a+6c

ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม พร้อมออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
ภาระงาน
- วิเคราะห์การแยกตัวประกอบของ 144
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์ อาทิเช่น สมบัติการเปลี่ยนหมู่  สมบัติการสลับที่  และ สมบัติการแจกแจง  มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีต่างๆ

ชิ้นงาน
 - สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม
 - โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนาม
ความรู้
  - การดำเนินการของจำนวนต่างๆทางคณิตศาสตร์ อาทิเช่น สมบัติการเปลี่ยนหมู่  สมบัติการสลับที่  และ สมบัติการแจกแจง  มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีต่างๆ
- การปรับประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องรากที่ 2 ในการแยกตัวประกอบพหุนามต่างๆ
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์คำตอบโจทย์ต์ โดยใช้คุณสมบัติการเปลี่ยนหมู่  สมบัติการสลับที่  และ สมบัติการแจกแจง  มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนาม
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับการนำสมบัติการเปลี่ยนหมู่  สมบัติการสลับที่  และ สมบัติการแจกแจง  มาร่วมใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนาม
 ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาของการแยกตัวปรกอบของจำนวนต่างๆได้
 ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยง กับการนำไปปรับใช้ในเรื่องการแยกตัวประกอบของตัวเลขในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นได้

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน



                          
               ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนรูเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบ โยคุณครูและพี่ๆ ได้ร่วมกันทบทวน สิ่งที่พี่เคยได้เรียนรู้มาแล้ว่า การแยกตัวประกอบพื้นฐานโยทั่วไปแอย่าง อาทิเช่น การเกิดจากการคูณกัน (25=5*5) หรือการหา ค.ร.น. หรือ การแตกตัวประกอบแบบกิ่งไม้ ซึ่งพี่ ม.3 ส่วนใหญ่มีพื้นฐานเข้าใจในเรื่องนี้ดี แต่ลำหรับในกิจกรรมการแยกตัวประกอบต่อไปนี้ เป็นการแยกโยตัวเลขหรือพจน์ของตัวเลกที่มี นั้นมีคุณสมบัติ ที่มีค่ายกกำลังเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปจะเรียกว่า พหุนามดีกรีสอง (มีเลขยกกำลังเป็นสอง หรือดีกรีเป็นสองนั้นเอง) จากนั้นคุณครูได้ทดลองให้พี่ได้ ช่วยกันแยกตัวประกอบจากโจทย์พหุนามต่างๆ และค่อยร่วมสังเกตและนำเสนอสิ่งที่สังเกตเห็น เช่น ab2-cb2- 6a+6c ( ประกอบขึ้นจากอะไรบ้าง) ค่อยๆแยก เป็นตัวๆกันเลยทีเดียว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ในช่วงการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ก็มีคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย เช่น มันเหมือนกัน (ตัวร่วม) มันอยู่ด้วยกัน (หมวดหมู่) มันสลับกลุ่มกัน (การสลับกลุ่ม) ซึ่งตลอดการเรียนรู้ก็จะค่อยๆทำความเข้าใจกันไป พร้อมกับ ทดลองทำโจทย์ที่แตกต่างกันไป หลังจากผ่านไป ประมาณ 3 คาบ คุณครูก็ได้ลองเปลี่ยนให้ลองทำโจทย์ประยุกต์ดูบ้าง โดยเริ่มจากการให้วาดภาพออกมาก่อนว่า โจทย์ที่ให้น่าจะเป็นอย่างไร เช่น การหาด้านกว้างของกล่องที่มีด้านยาวๆกว่าด้านกว้างสองเท่า การหาพื้นที่ต่างๆ ที่มีความแตกต่างแต่สัมพันธ์กัน

    ตอบลบ